หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

เมนู

 

บริการให้คำปรึกษา จัดทำเอกสาร ขอรับส่งเสริมการลงทุน BOI


               Skyinterlegal บริการให้คำปรึกษา ยื่นขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน ยื่นขอใช้สิทธิและประโยชน์ภายใต้บัตรส่งเสริมการลงทุน และยื่นรายงานการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ของบัตรส่งเสริมการลงทุน


BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)

               สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (บีโอไอ)  เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการลงทุน โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน .. 2520 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 .. 2534 ฉบับที่ 3 .. 2544 และฉบับที่ 4 .. 2560

               สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (บีโอไอ) มีภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยการให้สิทธิและประโยชน์ในการลงทุน การเสริมสร้างปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุน การส่งเสริมการลงทุนและการบริการลงทุน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้               

                    - ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

                    - ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือตามที่คณะกรรมการดังกล่าวมอบหมาย

                    - ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่บรรยากาศการลงทุน และชักจูงให้มีการลงทุนในกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ

                    - จัดให้มีศูนย์บริการลงทุนสำหรับผู้สนใจลงทุนและผู้ลงทุนในการจัดให้ได้มาซึ่งการอนุญาตและการให้ใช้บริการต่าง ที่เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งรวมถึงการอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สนใจลงทุนในการเตรียมโครงการลงทุน และดำเนินการตามโครงการลงทุน

                    - วิเคราะห์โครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตรวจสอบและควบคุม ตลอดจนประเมินผลการลงทุนตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

                    - ศึกษาค้นคว้าหาลู่ทางในการลงทุน จัดทำรายงานความเหมาะสมของการลงทุน วางแผน ส่งเสริมการลงทุน และประสานการแก้ไขปัญหานักลงทุน

                    - ศึกษา รวบรวม ให้บริการข้อมูล และส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหาผู้ร่วมทุนหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และสร้างการเชื่อมโยงและขยายโอกาสการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศ

                    - ประเมินผลการส่งเสริมการลงทุน และการดำเนินงานของกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งประเมินความคุ้มค่าในการให้สิทธิและประโยชน์แก่ผู้ได้รับการส่งเสริม

                    - ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 5 ปี ( ..2566-2570 ) ของ BOI (บีโอไอ)

               วิสัยทัศน์  ส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่โดยมีเป้าหมายหลักที่ต้องการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้บรรลุผล 3 ประการ ประกอบด้วย

               1. Innovative เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

               2. Competitive เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง

               3. Inclusive เป็นเศรษฐกิจที่คํานึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความ เหลื่อมล้ำ

หลักประกันและการคุ้มครองที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับจากรัฐ

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน .. 2520 (ฉบับปรับปรุง .. 2560)

การให้ความคุ้มครองของรัฐ

               มาตรา 43 รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ

               มาตรา 44 รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขันกับผู้ได้รับการส่งเสริม

               มาตรา 45 รัฐจะไม่ทำการผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลชนิดเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันกับที่ผู้ได้รับการส่งเสริมผลิตหรือประกอบได้

               มาตรา 46 รัฐจะไม่ควบคุมราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลที่ได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เว้นแต่ในกรณีจำเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ แต่จะไม่กำหนดราคาจำหน่ายให้ต่ำกว่าราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน .. 2520

               มาตรา 47 ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้เสมอไปซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลที่ได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เว้นแต่ในกรณีจำเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ

               มาตรา 48 รัฐจะไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าซึ่งผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลชนิดใดที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าเป็นชนิดเดียวกันกับที่ผู้ได้รับการส่งเสริมผลิตหรือประกอบได้โดยมีคุณภาพใกล้เคียงกันและมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้

               ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ยุทธภัณฑ์ตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชการของกระทรวงกลาโหม

การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ

               มาตรา 49 ในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ความคุ้มครองกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริม คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลชนิดเดียวกัน คล้ายคลึงกัน หรือทดแทนกันได้กับที่ผู้ได้รับการส่งเสริมผลิตหรือประกอบในอัตราที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคารวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งนอกประเทศของผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลนั้น

               มาตรา 50 ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการกำหนดค่าธรรมเนียมพิเศษตามมาตรา 49 ไม่เพียงพอสำหรับการให้ความคุ้มครองกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริม ให้กระทรวงพาณิชย์ห้ามนำผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลชนิดเดียวกัน คล้ายคลึงกัน หรือทดแทนกันได้ กับที่ผู้ได้รับการส่งเสริมผลิตหรือประกอบเข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง

หลักเกณฑ์การช่วยเหลือนักลงทุน

               มาตรา 51 ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและร้องเรียนให้คณะกรรมการช่วยเหลือ ให้ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งให้ความช่วยเหลือไปตามความเหมาะสม หรือสั่งให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการช่วยเหลือต่อไปโดยมิชักช้า

               มาตรา 52 ในกรณีที่โครงสร้าง อัตรา หรือวิธีการจัดเก็บภาษีอากร ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนที่พึงให้การส่งเสริมหรือที่ให้การส่งเสริมไปแล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ร้องเรียนขอให้คณะกรรมการช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม ให้ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขต่อไป

               มาตรา 53 ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจใดได้รับคำสั่งจากประธานกรรมการตามมาตรา 51 หรือมาตรา 52 ต้องพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือหรือแก้ไขให้เป็นไปตามคำสั่งดังกล่าว ถ้าเห็นว่าไม่อาจปฏิบัติตามได้ ให้รายงานประธานกรรมการทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง

               ในกรณีที่ได้รับรายงานเหตุผลตามวรรคหนึ่ง ถ้าประธานกรรมการพิจารณาเห็นควรดำเนินการประการใด ให้ถือเป็นที่สุด และให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นโดยมิชักช้า

 

หลักเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI (บีโอไอ)

               1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                    1.1 ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรและอาหาร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้

                    1.2 ต้องมีกรรมวิธีการผลิตหรือขั้นตอนการให้บริการที่ทันสมัย และเป็นไปตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
                    1.3
ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากเป็นกรณีใช้เครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ BOI (บีโอไอ) กำหนด

               2. โครงการที่มีการหลอมโลหะ ต้องดําเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ กรณีไม่ได้ใช้หรือไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานข้างต้นก่อนวันครบเปิดดําเนินการ

               3. การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                    3.1
ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สําหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ

                    3.2  กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการ หรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้โครงการหรือกิจการนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ด้วย

                    3.3  โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ .1/2554 เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง ลงวันที่ 2 พฤษภาคม .. 2554 

               4. เงินลงทุนขั้นต่ำ และความเป็นไปได้ของโครงการ
                    4.1
ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามที่คณะกรรมการประกาศ กําหนด ทั้งนี้สําหรับประเภทกิจการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดําเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงิน เดือนบุคลากรต่อปี ซึ่งจะกําาหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

                    4.2  ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สําหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี 

                    4.3  โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 2,000 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกําหนด (รายละเอียดรายงานศึกษาความเป็นไปได้ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ .2 /2566 เรื่อง แนวทางการจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) 

 

หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ

               คณะกรรมการกําาหนัดหลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสําหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังนี้

               1. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว .. 2542 ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 

               2. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในับัญชีสองและบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว .. 2542 อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ 

               3. เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการอาจกําหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะสําหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท


สิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน

               ในการได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังนี้   

สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากร

               1. ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสําหรับเครื่องจักร (มาตรา 28/29)  

               2. ลดหย่อนอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น (มาตรา 30) 

               3. ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา (มาตรา 30/1)

               4. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินปันผล (มาตรา 31, 31/1 และ 34) 

               5. ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยุละ 50 (มาตรา 35 (1)) 

               6. ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2)) 

               7. ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินลงทุน (มาตรา 35 (3)) 

               8. ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสําหรับการผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36) 

สิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร

               1. อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24) 

               2. อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชํานาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26) 

               3. อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิที่ดิน (มาตรา 27) 

               4. อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม

               1. มาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

                    1.1 วงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน/ค่าใช้จ่าย

                    1.2 ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม สูงสุด 13 ปี

               2. มาตราการส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคคลากรทักษะสูง

                    2.1 โครงการเดิม ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 ปี สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในโครงการใหม่ (โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) และสิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากรในการจัดตั้งสถานศึกษาหรือสถาบันฝึกอบรม

                    2.2 โครงการใหม่ ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และสิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร 

               3. สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย

                    3.1 นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี

                    3.2 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ 20 จังหวัด หากตั้งสถานประกอบการในจังหวัดเหล่านี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี โดยรวมแล้วไม่เกิน 8 ปี ยกเว้น กิจการกลุ่ม A1 และ A2 จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเติมอีก 5 ปี นับจากการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง

                    3.3 เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                         3.3.1 กลุ่มกิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 2 ปี ไม่จำกัดวงเงิน เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ

                         3.3.2 กลุ่มกิจการเป้าหมายทั่วไป จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ

               หมายเหตุ การได้สิทธิและประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม


สิทธิและประโยชน์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs]

คุณสมบัติของโครงการ SMEs ที่จะขอรับการส่งเสริมจาก BOI

               จะต้องเป็นกิจการในบัญชีประเภทกิจการตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ยกเว้นกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่ไม่ให้สิทธิและประโยชน์ตามที่ BOI กำหนด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

               1. ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

               2. ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามมากกว่ากึ่งหนึ่งจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

               3. ต้องมีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนไม่เกิน 4 ต่อ 1

               4. อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการได้ มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยใช้มูลค่าทางบัญชี และต้องมีการลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักด้วย ในสัดส่วนตามที่ BOI กำหนด

               5. รายได้ของกิจการทั้งหมด (ทั้งโครงการที่ได้รับการส่งเสริม และ ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI) ต้องไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก นับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI

สิทธิและประโยชน์ของโครงการ SMEs ที่จะขอรับการส่งเสริมจาก BOI

               1. ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
               2. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับประเภทกิจการที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 200 ของเงินลงทุน ไม่ร่วมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

               3. สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 



กิจการที่ BOI (บีโอไอ) ให้การส่งเสริมการลงทุนแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมและประเภทกิจการ


อุตสาหกรรม BCG

อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

               1. กิจการเกษตรต้นนํ้า เช่น การปลูกไม้เศรษฐกิจและพืชพลังงาน การขยายพันธุ์สัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ ประมงนํ้าลึก เป็นต้น

               2. กิจการเกษตรแปรรูป เช่น แป้ง นํ้ามันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์ การฟอกหนังหรือแต่งหนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ การผลิต หรือถนอมอาหาร เครืองดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร สิ่งปรุงแต่งอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การผลิตอาหารแห่งอนาคต การผลิตอาหารสัตว์ การผลิตเชื้อเพลิงหรือแอลกอฮอล์จากผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพร เป็นต้น

               3. กิจการเกษตรสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ การผลิตหรือ ให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ โรงงานผลิตพืช เป็นต้น

               4. กิจการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เช่น การผลิตปุ๋ย การอบพืช และไซโล การคัดคุณภาพและเก็บรักษาผลิตผลทางการเกษตร ห้องเย็นหรือ ขนส่งห้องเย็น ศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร เป็นต้น

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

               1. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น พลาสติกิชีวภาพ เคมีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น

               2. กิจการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

อุตสาหกรรมการแพทย์

               1. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น กิจการผลิต Non-Woven Fabric หรือ  ผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygienic Products) จาก Non-woven Fabric เครื่องมือแพทย์ ยา เป็นต้น

               2. กิจการบริการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุข เช่น กิจการสถานพยาบาล กิจการบริการสาธารณสุข เป็นต้น

               3. กิจการวิจัยทางคลินิก (ClinicalResearch) เช่น กิจการสนับสนุนและบริหารจัดการ การวิจัยทางคลินิก (Contract Research Organization) ศูนย์การวิจิยทางคลินิก (ClinicalResearch Center)


อ่านรายละเอียด


อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

อุตสาหกรรมเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ

               1. กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน และการซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์

               2. กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์

               3. กิจการการผลิตเลนส์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์

อุตสาหกรรมยานยนต์

               1. กิจการผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วน
               2. กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ
               3. กิจการผลิตยานยนต์ทั่วไป
               4. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบตำ่กว่า 248 ซีซี)
               5. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Battery Electric Vehicle (BEV), Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV), Hybrid Electric Vehicle (HEV) และแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform)
               6. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่
               7. กิจการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และแพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ 
               8. กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และแพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ 
               9. กิจการผลิตรถจักรยานไฟฟ้า
               10. กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงและอุปกรณ์สำหรับเซลล์เชื้อเพลิง
               11. กิจการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงและชิ้นส่วน
               12. กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ
               13. กิจการผลิตและ/หรือซ่อมรถไฟ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สำหรับระบบราง
               14. กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าและสถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า

อุตสาหกรรมอากาศยานและยานอวกาศ

               1. กิจการด้านอากาศยานและยานอวกาศ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

               1. กิจการผลิตยานพาหนะและระบบอาวุธเพื่อป้องกันประเทศ และชิ้นส่วน และ/หรือซ่อม

               2. กิจการผลิตยานไร้คนขับเพื่อการป้องกันประเทศและชิ้นส่วน และ/หรือการซ่อม

               3. กิจการผลิตและ/หรือซ่อมอาวุธ และเครื่องช่วยฝึกเพื่อป้องกันประเทศ และชิ้นส่วน

               4. กิจการผลิตและ/หรือซ่อมอุปกรณ์ช่วยรบ

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

               1. กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
               2. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน
               3. กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ และชิ้นส่วน


อ่านรายละเอียด



อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน

อุตสาหกรรมแร่

               1. กิจการสำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ แต่งแร่ ถลุงแร่ ประกอบโลหกรรม แร่ศักยภาพเป้าหมาย

อุตสาหกรรมวัสดุ

               1. กิจการผลิตวัสดุ เช่น Advanced หรือ Nano Materials แก้ว เซรามิกส์ วัสดุทนไฟ หรือฉนวนกันความร้อน ยิปซั่ม ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในอุตสาหกรรมวัสดุ

               1. กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในอุตสาหกรรมวัสดุ

อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ

               1. กิจการผลิตเหล็กและโลหะ

อุตสาหกรรมเคมี ปีโตรเคมี และพลาสติก

               1. กิจการผลิตเคมีภัณฑ์

               2. กิจการผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการอุตสาหกรรม

               3. กิจการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

               4. กิจการผลิตภัณฑ์พลาสติก

               5. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากเยื่อกระดาษ

สาธารณูปโภค

               1. กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน

การพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม

               1. กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม

กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

การจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า

               1. กิจการจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า แลุะ/หรือ Energy Storage


อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าสูง

อุตสาหกรรมดิจิทัล

               1. กิจการเทคโนโลยีดิจิทัล

               2. กิจการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

               3. กิจการสนับสนุนระบบนิเวศน์ด้านดิจิทัล

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

               1. กิจการเมืองอัจฉริยะ

อุตสาหกรรมเบา

               1. กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
               2. กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ
               3. กิจการผลิตด้ายหรือผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ
               4. กิจการผลิตเส้นใยรีไซเคิล
               5. กิจการผลิตเส้นใยอื่นๆ หรือด้าย หรือผ้าอื่นๆ
               6. กิจการฟอกย้อมและแต่งสำเร็จ หรือพิมพ์และแต่งสำเร็จ
               7. กิจการผลิตเครื่องนุ่งห่มและเคหะสิ่งทอ
               8. กิจการผลิตกระเป๋า หรือรองเท้า หรือผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หรือหนังเทียม
               9. กิจการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ หรือชิ้นส่วน รวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ
               10. กิจการผลิตเครื่องกีฬาหรือชิ้นส่วน
               11. กิจการผลิตเครื่องดนตรี
               12. กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์หรือชิ้นส่วน
               13. กิจการผลิตของเล่น
               14. กิจการผลิตสิ่งพิมพ์

อุตสาหกรรมภาพยนต์

               1. กิจการสร้างภาพยนต์ไทย

               2. กิจการบริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนต์

               3. เขตอุตสาหกรรมภาพยนต์

กิจการบริการเฉพาะทาง

               1. กิจการบริการเฉพาะทาง

               2. กิจการวิจัยและพัฒนา

               3. กิจการบริการอกแบบทางวิศวกรรม

               4. กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์

               5. กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน

               6. กิจการบริการฆ่าเชื้อแก่ผลิตภัณฑ์

               7. กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กิจการด้านท่องเที่ยว

               1. กิจการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
               2. กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

กิจการโลจิสติกส์

               1. กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่ และการขนถ่ายสินค้า
               2. กิจการศูนย์บริการโลจิสติกส์


ขั้นตอนในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน จาก BOI ของบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด

               1. ศึกษาข้อมูล เราจะทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของท่าน เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการของท่าน ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบว่าโครงการของท่านมีโอการสผ่านการพิจารณาของ BOI หรือไม่ ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงการของท่านอย่างไร เพื่อจะได้จัดเตรียมเอกสารและข้อมูล ในการยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนและเข้าชี้แจงรายละเอียดโครงการกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

               2. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน  เราจะจัดเตรียมเอกสารคำขอ และรายละเอียดการประกอบกิจการ เช่น ขั้นตอนการผลิตหรือบริการ รายการต้นทุนการผลิต รายการเครื่องจักรที่ใช้ แผนผังโรงงานหรือสำนักงาน แผนการฝึกอบรมภายในโรงงาน เป็นต้น จากนั้นจะทำการยื่นคำขอแบบออนไลน์ ผ่านระบบ e-Investment Promotion

               3. ชี้แจงโครงการ เราจะทำการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่บีโอไอ (BOI) ผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อเข้าชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงลักษณะและรายละเอียดในการประกอบธุรกิจของท่าน 

               4. การติดตามผลการพิจารณาของ BOI เจ้าหน้าที่ BOI จะทำการวิเคราะห์โครงการโดยใช้ระยะเวลาตามขนาดของการลงทุน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 40-90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการพิจารณากลับมา ซึ่งหากทาง BOI มีมติการส่งเสริมการลงทุน (อนุมัติโครงการ) เราจะต้องทำการตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา

               5. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (กรณีที่ยื่นผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา) ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะเราต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น แบบฟอร์มคำร้องขอการรับรองการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ รายชื่อผู้ถือหุ้น หนังสือรับรองการลงทุนจากธนาคาร หรือใบเสร็จรับเงินโอนจากต่างประเทศ ข้อตกลงหรือสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี สัญญาร่วมทุน รายละเอียดเกี่ยวกับแผนธุรกิจ และเครื่องจักรหรือซอฟต์แวร์ที่จะใช้ตลอดการดำเนินโครงการ จำนวนบุคลากรที่คุณจะจ้างจากประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมเงินเดือน ขั้นตอนหรือกลยุทธ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมพนักงานชาวไทย เป็นต้น เพื่อขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ต่อไป ซึ่งเมื่อทาง BOI ได้รับเอกสารครบถ้วนก็จะทำการ ออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้กับท่านต่อไป ซึ่งท่านต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ BOI อย่างเคร่งครัด

               6. ขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน การยื่นขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าจาก BOI หลังจากที่บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แล้ว บริษัทจะต้องลงทะเบียนในระบบ e-expert ก่อนจ้างพนักงานต่างชาติ เมื่อพนักงานต่างชาติได้รับการอนุมัติจากระบบ e-expert แล้ว จึงสามารถยื่นขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าในประเทศไทยได้

               7. การขอใช้สิทธิและประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนของ บีโอไอ (BOI) เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษี เครื่องจักร วัตถุดิบ ที่ดิน หรือผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติ 

               8. การรายงานผลการดำเนินงานและความคืบหน้าของโครงการ การแก้ไขโครงการ การโอนกิจการ จนถึงการหยุดประกอบกิจการหรือปิดโครงการ



               กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 081-9151522 , 090-0700080 email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่  (คลิกที่นี่)

บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด 
725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 081-9151522, 090-0700080            E-mail : skyinterlegal@gmail.com           Facebook : Skyinterlegal
Copyright 2011-2025 Sky International Legal Co.,Ltd. All rights reserved.
 
  
view